เมนู

แก้วมณีโดยกำเนิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ทรงหมายถึงแก้วมณี
โดยกำเนิดนั้น. บทว่า ภทฺทกํ เท่ากับ ลทฺธกํ แปลว่า งดงาม. บทว่า
สงฺคิสุวณฺณํ ได้แก่ทองที่งอกขึ้นมีสัณฐานดังเขาโค. บทว่า กาญฺจนํ ได้แก่
ทองที่เกิดจากเขา คือทองคำที่เกิดบนภูเขา. บทว่า ชาตรูปํ ได้แก่ทองที่มีสี
เหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา. บทว่า หฏกํ ได้แก่ทองที่มดแดงคาบมา
บทว่า นานุภวนฺติ แปลว่า ยังไม่ถึง. บทว่า จนฺทปฺปภา เป็นปฐมาวิภัติ
ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัติ. อธิบายว่า (ไม่ถึงส่วนที่ 16) แห่งแสงจันทร์.
บทว่า อุปวสฺสุโปสถํ ได้แก่เข้าจำอุโบสถ. บทว่า สุขุทฺริยานิ ได้แก่
มีสุขเป็นผล คือเสวยความสุข. บทว่า สคฺคมฺเปนฺติ ฐานํ ได้แก่เข้าถึง
ฐานะ กล่าวคือสวรรค์ อธิบายว่า ไม่มีใครตำหนิ ย่อมเกิดในเทวโลก. คำ
ที่เหลือที่มิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยทำนองที่
กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอุโปสถสูตรที่ 10
จบมหาวรรควรรณนาที่ 2


รวมสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ติตถสูตร 2. ภยสูตร 3. เวนาคสูตร 4. สรภสูตร 5.
กาลามสูตร 6. สาฬหสูตร 7. กถาวัตถุสูตร 8. ติตถิยสูตร 9. มูลสูตร
10. อุโปสถสูตร และอรรถกถา.

อานันทวรรคที่ 3



1. ฉันนสูตร



ว่าด้วยโทษแห่งกุศลมูล



[511] ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อฉันนะ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ฯลฯ
กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติการละราคะ
โทสะ โมหะหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า อาวุโส พวกข้าพเจ้านะสิ บัญญัติการละราคะ
โทสะ โมหะ.
ฉ. ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะ โทสะ โมหะอย่างไร จึงบัญญัติ
การละราคะ โทสะ โมหะ.
อา. คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว อันราคะ โทสะ โมหะ
ครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะ โทสะ โมหะจับเสียรอบแล้ว ย่อมคิดเพื่อ
ทำตนให้ลำบากบ้าง เพื่อทำผู้อื่นให้ลำบากบ้าง เพื่อทำให้ลำบากด้วยกัน
ทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะ โทสะ โมหะ
เสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัส
ในใจ.
คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย
ทางวาจา ทางใจ ครั้นละราคะ โทสะ โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
ทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจเลย.
* เป็นทีว่าพวกเขาบัญญัติอยู่แล้วเหมือนกัน หรือบัญญัติมาก่อน